สติปัฏฐานสี่ ฐานที่ตั้งของสติ

สติปัฏฐานสี่ฐานที่ตั้งของสติ

สติปัฏฐานสี่ ฐานที่ตั้งของสติ

สิติปัฏฐานแปลว่าที่ตั้งของสติสติจะเกิดต้องมีที่ตั้งที่ยึดพระพุทธเจ้าพระองค์จึงได้ทรงแสดงสติปัฏฐานไว้ว่าเป็นทางสายเอกสายเดียวสายตรงของการปฏิบัติธรรม สติปัฏฐานที่ตั้งของสตินั้นเมื่อจำแนกออกแล้วมีสี่อย่างดังนี้
  1. กาย คือร่างกายทั้งหมดตามพิจารณากายเนืองๆ อย่างต่อเนื่องยึดเป็นฐานที่ตั้งของสติเอาสติไปกำหนดอยู่ตรงนั้น
  2. เวทนา คือการเสวยอารมย์ ตามพิจารณาเนืองๆ อย่างต่อเนื่อง
  3. ใจ หรือจิต ตามพิจารณาซึ่งจิตคือตัวรู้
  4. ธรรมะ ตามพิจารณาธรรมะ
สี่ อย่างนี้...เป็นทางเดินสู่มรรคผลนิพพานได้ทั้งนั้น แม้จะเลือกทางใดทางหนึ่งอุปมาเหมือนคนจะเดินเข้าเมืองมาทางทิศเหนือก็เข้าถึงตัวเมืองได้ทิศไต้ก็เข้าถึงได้ทิศตะวันออกทิศตะวันตกก็เข้าถึงได้ฉันใดฉันนั้น ของดีมีอยู่ในตัวเราถ้าเราไม่นำมาพิจารณาปฏิบัติย่อมไม่เกิดคุณแก่ตน เช่นเรามีเงินในกระเป๋าอยากกินเงาะกินทุเรียนถ้าเราไม่นำเงินไปชื้อแล้วเราจะได้กินไหม ฉันใดก็ฉันนั้นของมีค่ามีอยู่ในตัวถ้าไม่รู้ค่าไม่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ย่อมไม่ได้มาซึ่งประโยชน์แก่ตน

คนที่ได้เจริญสติปัฏฐานสี่ คือคนเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง ดังนั้นที่ตั้งของสติ คือ กาย-เวทนา-ใจ-ธรรมะ เมื่อได้กำหนดสติอย่างต่อเนื่องกิเลสที่นอนตกตะกอนในจิตใจมานานแสนนานก็จะไม่กวน เปรียบดั่งธรรมะเป็นแสงสว่างและกิเลสเป็นความมืดเมื่อแสงสว่างมาความมืดย่อมหายไป การที่เราเพียงสวดมนต์ฟังเทศฟังธรรม หากไม่เจริญสติปัฏฐานสี่หรือวิปัสสนากรรมฐานไม่มีทางที่กิเลสจะลดน้อยลงได้

เทศนาโดย : พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ)


To Top