ลมปราณบริหารกาย
กาลเวลาผ่านวันนี้กายและใจเราจำต้องพร้อมเพื่อรับมือกับสภาวะที่ไม่พึงปรารถนากับโรคภัยและการดำเนินชีวิตในปัจจุบันเศรษฐกิจปากท้อง ดังนั้นใจต้องเข้มเเข็งกายต้องแข็งแรง อดทนเข้าใจปรับใช้ชีวิตและเทคโนโลยีจึ่งเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ หน้าคอมฯจึงเป็นทุกอย่างงานเงินสังคมชั่วโมงการนิ่งนั่งนานเพิ่มขึ้น ร่างกายใช้งานโอเว่อโหลดเอ็นยึดเอ็นค้าง การออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างยิ่ง
ยิ่งนั่งจ้องบิด-ออฟเฟอร์วาดกราฟเทรดหุ้นราคาฟู่งจี๊ดหล่นตุ๊บตั๊บ กินไม่ได้นอนไม่หลับเอ็นก็ติดขัด การออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหวไม่โลดโผนแฝงการทำสมาธิไปในตัวเช่น ไทเก๊ก หรือโยคะ ท่าฤาษีดัดตนเป็นการยืดหยุ่นร่างกายคลายกล้ามเนื้อผ่อนคลายจิตใจได้ดีอย่างหนึ่งและไม่เบียดเบียนพื้นที่เช่นคอนโดหรือบ้านห้องนอนก็ทำเป็นสถานที่ออกกำลังกายได้และไม่เปลืองน้ำมันรถวิ่งออกไปอีก ปลอดภัยจากเชื้อโรคไม่ไปเบียดเสียดกับผู้อื่นแม้ฟิตเน็ตปิดเราก็ไม่หวั่นหรือสนามวิ่งที่คนพลุกผล่านและเสี่ยงอยู่ในขณะนี้ เมื่อกายพร้อมใจพร้อมอะไรที่ว่าหนักหนาย่อมหาทางออกได้เสมอ
ไท่เก๊กนั้นเป็นศิลปะ(ยุทธ์)ที่มีชื่อเสียงในประเทศจีนโดยเชื่อกันว่าผู้ให้กำเนิดคือนักพรตนามว่า จาง ซันฟง แห่งเขาบู๊ตึ้ง อันเป็นภูเขาที่ตั้งอยูในมลฑลหูเป่ยซึ่งในอดีตนักพรตนิยมมาบำเพ็ญตบะ เพราะเป็นภูเขาที่มีธรรมชาติอันสมบูรณ์และการฝึกนั้นเป็นการเลียนแบบท่าทางของสิ่งมีชีวิตอื่นเช่น นก ม้า เสือหรือวิถีการใช้ชีวิตประจำวันของเรานี่เองเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายไหลลื่นต่อเนืองประสานไปกับความรู้สึกโดยกำหนดสติรู้ทุกขณะฝึกในแต่ละกระบวนท่าจึงมีลักษณะนุ่มนวล อ่อนโยน เป็นการออกกำลังกายที่ไม่มีแรงกระแทกโอกาสเกิดการบาดเจ็บจึงมีน้อยเมื่อเทียบกับการออกกำลังกายหรือกีฬาชนิดอื่นจึงเหมาะกับทุกวัย
ส่วนโยคะนั้นเป็นการทำสมาธิของชาวฮินดูในประเทศอินเดียโบราณเมื่อหลายพันปีมาแล้วผู้ชายเรียกว่าโยคี ผู้หญิงเรียกว่าโยคินีหรือโยกินี โยคะพระสูตรของปาตันจาลี (Patanjali) เป็นหนึ่งในตำราพื้นฐานคลาสสิกปรัชญาโยคะว่าด้วยทฤษฏีและการปฏิบัติของการฝึกโยคะเป็นการจัดระเบียบหมวดหมู่ความรู้เกี่ยวกับโยคะดั้งเดิมวัตถุประสงค์เพื่อจิตวิญญาณ ตำราประวัติศาสตร์มาซิโดเนียกล่าวว่าอเล็กซานเดอร์มหาราชมาถึงอินเดียในศตวรรษที่ ๔ ก่อนคริสตศักราชเขาพานักวิชาการชาวกรีกไปด้วยซึ่งภายหลังเขียนบันทึกเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ผู้คนและขนบธรรมเนียมที่พวกเขาพบเห็นซึ่งอ้างถึงในเล่มที่ ๑๕ ตอนที่ ๖๓-๖๕ โดยนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกชื่อสตราโบ (Strabo) ว่าโยคีชาวอินเดียเหล่านั้นฝึกโยคะท่ายืนและท่าต่าง ๆ เช่นนั่งหรือนอนและไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน ๆ เหมือนเป็นการทรมานตนเองแต่ดูมีความสุขต่อมาสวามีวิเวคานันดา (Swami Vivekananda) เป็นพระภิกษุชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูซึ่งเป็นนักพรตหนุ่มในขณะนั้นเขาเป็นบุคคลสำคัญในการนำปรัชญาโยคะของอินเดียไปสู่โลกตะวันตกจนแพร่หลายเป็นที่รู้จักในปัจจุบัน
ส่วนประเทศไทยเราก็มีท่าฤาษีดัดตนมาแต่โบราณกาล ธรรมชาติให้สิ่งเหล่านี้แก่มนุษยชาติเพื่อความสมดุลทั้งภายนอกและภายในผ่านบรรพชนรุ่นต่อรุ่นใยเล่าเราจะมองผ่านเนอะ