เราศึกษาธรรมะเพื่ออะไร


เราศึกษาธรรมะเพื่ออะไร?...ธรรมะคือสภาพธรรมที่เป็นของจริงมีอยู่จริง บางท่านบอกว่าธรรมะก็คือธรรมชาติที่เราๆเขาๆปถุชนชาวโลกเห็นกันทั่วไปนั่นเองอาจจะไม่ตรงหลักนัก การศึกษาธรรมะ(ตามหลักของพุทธ)คือการศึกษาพระพุทธพจน์เป็นคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งได้ตรัสไว้ดีแล้วธรรมที่พระองค์สอนนั้นละเอียดและลึกมิใช่สิ่งที่จะนึกคิดเอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่มีใครเปลี่ยนสภาพของธรรมได้พระองค์เองก็ไม่ได้เปลี่ยนสภาพธรรมแต่พระองค์ตรัสรู้ได้และแสดงธรรมไปตามความเป็นจริงคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารวมอยู่ในคัมภีร์เรียกว่าพระไตรปิฎกหากศึกษาจนจำได้บอกได้นั้นเป็นภาคทฤษฎี(ปริยัติ)เป็นการเรียนรู้ตำราเปรียบดั่งศึกษาแผนที่ส่วนการปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดผล(ปฏิเวธ)ต้องอาศัยเครื่องมือที่มีชื่อว่ากรรมฐานซึ่งเป็นอุบายที่ทำให้ใจสงบมีอยู่ ๒ อย่างคือสมฐกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน 

สมฐกรรมฐานนั้นเป็นวิธีฝึกจิตให้เกิดสมาธิเป็นวิธีทำใจให้สงบแต่ไม่เกิดปัญญาไม่อาจตัดกิเลสได้เด็ดขาดถ้าไม่ต่อวิปัสสนาเพียงแต่ทำให้กิเลสสงบได้ชั่วคราวและมีมาก่อนพระพุทธเจ้าเกิดแล้วมีอยู่สี่สิบอย่างหรือสี่สิบวิธีทำ ถ้าปฏิบัติต่อไปเรื่อย ๆ อย่างเข้มข้นย่อมบรรลุอภิญญาทั้ง ๕ นั่นคือแสดงฤทธิ์ได้,มีหูทิพย์,ตาทิพย์,รู้วาระจิตของผู้อื่นและระลึกชาติได้ หรือได้ฌานนั่นเองแล้วเอาฌานเป็นยานพาหนะนำไปสู่การวิปัสสนาฯเพื่อให้เกิดญาณหรือปัญญาเป็นปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริงที่ไม่ปรุงแต่ง

แก่นแท้ของมนุษย์คือความดีศีลธรรมเท่านั้นจำแนกบุคคล แก่นแท้เทวดาคือความเมตตา แก่นแท้ศาสนาคือนิพพาน นิพพานไม่ใช่บ้านไม่ใช่เมืองแต่เป็นเรื่องของอารมย์โดยอาศัยปัญญาเพื่อไปถึงคือต้องเป็นปัญญาขั้นภาวนา(ภาวนามยปัญญา) เมื่อปัญญาเกิดรู้เห็นตามที่เป็นจริงจิตก็เป็นอิสระหลุดพ้นจากสิ่งนั้นสิ่งที่เราไม่รู้ฯลฯ ชนิดเด็ดขาดไปเลยหลุดพ้นจากความยึดติดในสิ่งนั้นรู้เมื่อไหร่ก็หลุดพ้นเมื่อนั้นจิตเป็นอิสระ

“เมื่อมีทางเดินย่อมมีที่ถึง” พระองค์ทรงชี้ทางให้เราแล้วแต่จะถึงที่ไหนอย่างไรเมื่อไหร่อยู่ที่เราจะเลือกทางเดินกัน ถ้าต้นทางวิปัสสนาปลายทางนิพพานถ้าต้นทางสมฐฯปลายทางพรหมโลก,ฌานหรืออภิญญา เปรียบดั่งเราขึ้นรถเมล์สายไหนปลายทางก็สายนั้น ฉะนั้นเรามาตามหาทางของตนกันเถิดบริหารความกล้ากล้าที่จะคิดกล้าที่จะเปลี่ยนกล้าที่จะทำโดยทั่วไปแล้วเราก็ใช้ปัญญาทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็นขั้นเป็นตอน หนึ่งปัญญาเกิดจากการศึกษาเล่าเรียน(สุตมยปัญญา) สองปัญญาเกิดจากการคิด(จินตมยปัญญา) สามปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ(ภาวนามยปัญญา) เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรมกำหนดทิศทาง ไม่ใช่เพียงแค่ให้เป็นความรู้เท่านั้น แต่เพื่อผลในทางปฏิบัติให้เกิดประโยชน์จริงจัง เพิ่มพูนความเข้าใจถูกเห็นถูกขึ้นไปตามลำดับ

เทศนาโดย : พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ)



แสดงความคิดเห็น

To Top