วิปัสนากรรมฐาน



กรรมฐานคือฐานของที่ตั้งสติมีสองอย่างคือสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน สมถะกรรมฐานทำจิตให้สงบชั่วคราวเกิดฌานได้แต่ไม่เกิดปัญญาถ้าไม่ต่อวิปัสนา คือปัญญาไม่ถึงเหมือนหินทับหญ้าอารมย์ของสมถะมีสี่สิบอย่างเช่นการท่องพุทโธก็เป็นสมถะ  สมถะมีมาก่อนพระพุทธเจ้าเราเกิดแล้วถ้าพระพุทธเจ้าเกิดมาสอนได้เท่าคนอื่นสอนความมหัศจรรย์ของพระองค์คงไม่มี แต่ที่วิเศษสุดเลิศกว่าอัศจรรย์คือพระองค์สอนทางไปนิพพานและเครื่องมือไปสู่นิพพานคือวิปัสสนา

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นจะทำอิริยาบถอะไรได้ทุกอย่างยกเว้นการเขียนหนังสือ อ่านหนังสือ หรือสนทนากับคนอื่น การเริ่มปฏิบัติให้เอาสติคอยกำหนดตามอิริยาบถประธานได้แก่ การยืน เดิน นั่ง นอน รวมถึงอิริยาบถย่อยคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่นอริยาบถเดิน “ขณะเดินเป็นรูป รู้เป็นนาม” เอาสติไปจับอารมย์ปัจจุบันนั้นให้ตั้งอยู่มั่นคงไม่ให้หลุดออกไปจากอารมย์ในอาการเดินนั้นโดยไม่ให้เผลอถ้าเพลอเมื่อไหร่เป็นอันหลุดจากอารมย์ปัจจุบันทันที เป็นโอกาสที่กิเลสเข้าแทรกได้ดังนั้นต้องพยายามตั้งสติใหม่

และทุก ๆ อิริยาบถจะเป็นการนั่งหรือนอนไม่ให้สติออกนอกกายและกำหนดไปเรื่อย ๆ ติดต่อกันจริง ๆ ทุก ๆ อารมณ์ทุก ๆ อิริยาบถ ไม่ให้ขาดระยะทั้งกลางวันกลางคืนเว้นแต่เฉพาะตอนหลับเท่านั้น ตามหลักมหาสติปัฏฐาน ภายใน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี แล้วแต่วาสนาบารมีของแต่ละบุคคลที่เคยสั่งสมมาก็จะพบความจริงปรากฏขึ้นมาให้เราได้พิสูจน์ จิตก็จะพัฒนาไปเป็นลำดับๆ เกิดเป็นญาณต่าง ๆ รวมทั้งหมด ๑๖ ญาณ ที่เรียกว่าวิปัสสนาญาณสิบหกเกิดปัญญาภายในไม่ใช่ปัญญาหาข้าวกินรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงเป็นอจินไตยไม่ใช่นึกคิดเอาเอง

เทศนาโดย : พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ฌานสิทธิ)

แสดงความคิดเห็น

To Top