พรากผู้เยาว์
พรากผู้เยาว์
ใครคือผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชยมาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ ดังนั้นบุคคลทีังชายและหญิงเมื่อยังมีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์จึงยังเป็นผู้เยาว์ คดีพรากผู้เยาว์เป็นความผิดอาญาซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาจำกัดอายุไม่เกิน ๑๘ ปี คำว่า "พราก" คือการพาไปแยกไปจากอำนาจปกครองของบิดามารดาหรือผู้ดูแลปกครอง กฎหมายมุ่งคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กหรือผู้เยาว์นั้น มิใช่ตัวเด็กหรือผู้เยาว์ที่ถูกพราก การแยกอำนาจปกครองไปจากบิดามารดาแม้เด็กจะขออนุญาตผู้ปกครองออกบ้านไปเองไปอยู่ที่ใดก็ตามหากบิดามารดาผู้ปกครองยังดูแลเอาใจใส่อยู่ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองเสมอแม้แยกออกไปเพียงระยะเวลาสั้นๆ เมื่อไม่มีเหตุอันสมควรแล้วเป็นความความผิดต้องระวางโทษตามกฎหมาย ฎีกาที่ ๔๐๕๗/๒๕๖๒, ๒๘๒๙/๒๕๖๓
พราก...จะมีอยู่สองกรณี
- พรากเด็กคืออายุไม่เกิน ๑๕ (ม.๓๑๗) ไม่มีเหตุอันสมควรไม่ว่ากรณีใดและเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามผิดทุกกรณีโทษคือจำคุกสามปีถึงห้าปี + ปรับหกหมื่นถึงสามแสนบาท แต่ถ้าเป็นการแสวงหากำไรหรือเพื่อการอนาจารจะมีโทษหนักขึ้นไปอีก คือจำคุกห้าปีถึงสิบปี+ ปรับหนึ่งแสนถึงสี่แสนบาท รวมถึงผู้แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากตัวเด็กหรือรับเด็กที่ถูกพรากมาก็เป็นความผิดเหมือนผู้กระทำการพราก
- พรากผู้เยาว์คืออายุเกิน ๑๕ แต่ไม่เกิน ๑๘ (ม.๓๑๘-๓๑๙) จะมีสองกรณีคือการเต็มใจไปด้วยกับไม่เต็มใจไป ถ้าเป็นกรณีเพื่อหากำไรเพื่ออนาจารแม้เด็กจะเต็มใจไปก็เป็นความผิด การที่พรากไปเพื่ออนาจารแม้ยังไม่ได้กระทำอนาจารก็เป็นความผิดสำเร็จแล้วไม่ต้องมีผลของการกระทำ
แสดงความคิดเห็น