อาวุธของนักเดินทางด้านใน
ยุทธศาสตร์ชีวิต |
ประวัติตามตำราครั้งในพุทธกาลมีภิกษุ ๕๐๐ รูปในเมืองสาวัตถีได้เรียนพระกรรมฐานจากสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเข้าไปบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าใหญ่แห่งหนึ่งเหล่าเทวดาไม่เมตตาพาทำให้ไม่ได้รับความสะดวกต่างๆ นาๆ เช่นได้ยินเสียงที่น่ากลัวเกิดอาการไม่สบายป่วยไข้และเห็นแต่อารมย์ที่น่าสพึงกลัว จึงพากันไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลเรื่องราวดังกล่าวและแจ้งว่าสถานที่นั่นไม่เป็นสัปปายะไม่ประสงค์จะไปที่นั่นอีก พระองค์จึงตรัสว่า "พวกเธอจงเรียนเอาอาวุธนี้ก่อน" แล้วตรัสกรณียเมตตสูตร 🔖ให้ไป ภิกษุทั้งหลายได้เรียนพุทธมนต์แล้วกราบลาพระองค์ไปสู่ที่เดิมเมื่อไปถึงก็พากันสวดบทดังกล่าวตั้งแต่นอกสถานที่จนไปถึงยังภายใน เทวดาทั้งหลายเหล่านั้นกลับมีจิตเมตตารักใคร่เป็นอันมากต้อนรับโดยเอื้อเฟื้อและอ่อนน้อมและเสียงอันพิลึกสพึงกลัวที่มีแต่เดิมไม่มีอีกเลยป่านั้นเงียบสงัด จิตของภิกษุทั้งหลายก็แน่วแน่อยู่ในอารมย์อันเดียวได้ง่ายวิปัสสนาดำเนินไปได้ด้วยดีและสะดวกตามกาล
และแล้วสมเด็จพระชินสีห์ก็ได้ทรงแผ่พระรัศมี ๖ ประการมายังสถานที่แห่งนั้นประดุจประทับนั่งอยู่ต่อหน้าภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสพระคาถาว่า "กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา นครูปมํ จิตฺตมิหํ กเถตฺวา โยเธถ มารํ ปัญฺญา วุเธน ชิตญฺจ รักฺเข อนิเวสโน สิยา" ซึ่งแปลความสำคัญได้ว่า
ดังนั้นเราท่านทั้งหลายนักรบนักเดินทางด้านใน(จิต) เมื่อตีความให้แตกฉานห้าปราการนี้มีค่าอนันต์จึงจำเป็นยิ่งที่จะน้อมนำพระคาถาข้างต้นนี้เป็นทริคเป็นหลักของการเดินทางสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่เป็นยุทธศาสตร์ของการท่องยุทธภพ.
- บัณฑิตรู้กายนี้อันเปรียบด้วยหม้อ
- กั้นจิตนี้อันเปรียบด้วยนคร
- พึงรบข้าศึกด้วยอาวุธคือปัญญา
- พึงรักษาแนวรบที่ชนะไว้(คือวิปัสสนา)
- พึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่(ไม่มีอาลัย)
แสดงความคิดเห็น