พินัยกรรม

Image by : 

พินัยกรรม

พินัยกรรมคือ การแสดงเจตนาเผื่อตายด้วยคำสั่งในเรื่องทรัพย์สินหรือเรื่องต่าง ๆ ของผู้ทำพินัยกรรม  อันจะให้เกิดผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำถึงแก่ความตายซึ่งต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้นถ้าทำไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อทำถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดผลคือเมื่อผู้ทำคือเจ้ามรดกถึงแก่ความตายก็จะเป็นไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้น 

คุณสมบัติของผู้ทำพินัยกรรมคือต้องมีอายุสิบห้าปีบริษูรณ์และไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง และไม่เป็นคนวิกลจริตคือมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน คุณสมบัติของผู้ทำพินัยกรรมดูขณะตอนที่ทำเท่านั้น พินัยกรรมนั้นจะทำได้ก็แต่ตามแบบใดแบบหนึ่งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ 

พินัยกรรมมีอยู่ ๕ แบบ

๑. พินัยกรรมแบบธรรมดา (ม.๑๖๕๖)
๒. แบบเขียนเองทั้งฉบับ(ม.๑๖๕๗)
๓. แบบเอกสารฝ่ายเมือง(ม.๑๖๕๘)
๔. แบบเอกสารลับ(ม.๑๖๖๐)
๕. แบบทำด้วยวาจา(ม.๑๖๖๓)

พินัยกรรมแบบ ๑,๓,และ ๔ ผู้ทำสามารถลงลายพิมพ์นิ้วมือได้แต่ต้องมีผู้ลงลายมือชื่อรับรอบไว้สองคนในขณะนั้นแต่พยานไม่ได้เลยต้องลงลายมือชื่อเท่านั้น(ม.๑๖๖๕-๖๖)

บุคคลที่ต้องห้ามไม่ให้เป็นผู้รับพินัยกรรมคือผู้ปกครองรวมถึงคู่สมรสบุพการีผู้สืบสันดานพี่น้องของผู้ปกครอง และผู้เขียน,พยานในพินัยกรรมรวมทั้งคู่สมรส,เจ้าหน้าที่ที่จดข้อความในพินัยกรรม

บุคคลที่เป็นพยานไม่ได้คือ อายุยังไม่ถึงยี่สิบปี,เป็นคนวิกลจริตหรือศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ,หูหนวกเป็นใบหรือตาบอดทั้งสองข้าง

การเพิกถอน ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้(ม.๑๖๙๓) การเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อนจะสมบูรณ์เมื่อพินัยกรรมฉบับหลังได้ทำตามแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถ้าได้ทำเป็นต้นฉบับหลายฉบับการเพิกถอนนั้นไม่บริบูรณ์เว้นแต่จะได้กระทำแก่ต้นฉบับเหล่านั้นทุกฉบับ(ม.๑๖๕๙)

แสดงความคิดเห็น

To Top