อารมย์ของวิปัสนาที่ถูกต้อง

วิปัสสนากรรมฐานต้องมีปริกรรมภาวนาเสมอขาดไม่ได้

เมื่อมาถึงจุดนี้ก็รู้กันแล้วว่าฐานอารมณ์ของวิปัสสนาอยู่ตรงไหนและขันธ์ห้าคืออะไรดังนั้นขันธ์ห้าอยู่ตรงไหนตรงนั้นเป็นอารมย์ของวิปัสสนาแล้ว เช่นรูปนั่งในขณะที่นั่งอยู่นั้นเราก็รู้สึกสบายไม่สบายเฉยๆเป็นเวทนาขันธ์เราจำได้ว่ากำลังนั่งนี่เป็นสัญญาขันธ์แต่งใจให้เห็นว่านั่งท่านี้มันดีหรือไม่ดีเป็นสังขารขันธ์ผู้ที่รู้ว่ากำลังนั่งนี่คือวิญญาณการนั่งอย่างมีสติแบบนี้ก็ถูกขันธ์ห้าแล้ว เมื่อถูกขันธ์ห้าก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานาที่ถูกต้องตามพระไตรปิฎกแล้ว เมื่อกายของเรามันน้อมไปอาการใดๆ รู้อาการนั้นๆ ก็เป็นกายานุปัสสนา ร่างกายมันจะน้อมไปทางไหนมันจะอยู่ในท่าไหนก็ตามมันจะอยู่ในลักษณะไหนก็ตามรู้ในอาการนั้นท่านั้นถูกต้องหมดเมื่อถูกขันธ์ห้านี้แหละคืออารมณ์ของวิปัสสนาที่ถูกต้องที่สุดไม่ต้องไปห่วงสงสัยอีก

ทีนี้ไม่ภาวนาล่ะจะถูกไหมไม่ได้เลยจะทิ้งบริกรรมภาวนาไม่ได้ในหลักต้องมีปริกรรมภาวนาทำไมต้องบริกรรมเอาง่ายๆ เช่นเราได้ดอกกุหลาบสวยๆสีแดงสวยสดงดงามก็ดูแต่ดอกไม้นี่สวยเหลือเกินหรือไปดูตลาดนัดมีนกสวยๆ ไปจ้องดูดูด้วยความพินิจพิจารณาอย่างนี้ไม่เป็นกรรมฐานเพราะไม่มีปริกรรมภาวนาถ้าเป็นได้ก็สบายสิทั้งประเทศสำเร็จกันหมดแล้วป่านนี้ อย่างการเพ่งกสิณเราต้องภาวนาอาโปอาโปๆๆ บาลีแปลว่าน้ำการที่เราไปที่ไหนก็เห็นน้ำ ขึ้นเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาก็เห็นน้ำถ้าไม่ภาวนาว่าอาโปอาโปอาโปไม่เป็นกรรมฐาน สำคัญอยู่ที่การภาวนา ถ้าไปนั่งดูอยู่เฉยๆ ก็รู้อยู่นิใช่ไหมแต่มันเป็นการรู้ด้วยโมหะรู้ด้วยโลภะรู้ด้วยทิฐิรู้ด้วยวิตกรู้ด้วยวิจารณ์ รู้อย่างนี้เป็นมิจฉาสติไม่ใช่สัมมาสติรู้บัญญัติไม่ได้รู้ปรมัตถ์

ในภาคปฏิบัติต้องกำหนดรู้ไม่จำเป็นต้องไปท่องเช่น ขาย่างเป็นรูปรู้เป็นนามไม่ต้องไปว่ามันไม่ทันปัจจุบันมันเสร็จไปหมดแล้วไม่ทันแล้ว ในบทรัตตสูตรห้ามไม่ให้เอารูปนามที่เป็นอดีตมาเป็นอารมณ์ท่องเอาประโยชน์อะไรเขาเอาไว้ใช้ในเวลาเทศน์ เมื่อปฏิบัติจริงมันไม่ทันกิเลสแล้วอดีตมันเสร็จไปแล้วเอากลับคืนไม่ได้อนาคตก็อย่าเอารูปนามที่เป็นอนาคตมาเป็นอารมณ์ต้องเอารูปนามที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น การเพ่งกสินสีก็เหมือนกันเมื่อตาเรามองเห็นสีขาวๆ สีของกำแพงสีอะไรก็ตามแล้วเราไม่ภาวนาดูอยู่เฉยๆไม่เป็นกรรมฐานแม้สมถะก็ไม่เป็นสมมุติเราเพ่งสีขาวเป็นอารมณ์ให้บริกรรมว่าโอทะตังๆๆๆแปลว่า สีขาวสีขาวสีขาวสีขาวสีขาวขึ้นสู่สีขาวอยู่กับสีขาวมันต้องบริกรรมไม่บริกรรมไม่เป็นกรรมฐาน (บัญญัติเป็นสมถะต้องการให้ได้ฌานสมาธิ)

ทีนี้ถ้าจะให้เป็นวิปัสสนา เอาเพียงเฉพาะสีสีอะไรก็ได้ภาวนาว่าเห็นหนอเห็นหนอเอาแค่เห็นไม่ให้เลยไปถึงขาวไม่ต้องว่าขาว สีนี่เป็นปรมัตถ์บาลีเรียกว่าวรรณะเอาเฉพาะสีเท่านั้นจะเป็นขาวเหลืองแดงไม่ว่าถ้าว่าไปขาวเหลืองแดงดำลงไปแล้วเป็นบัญญัติ ปรมัตถ์เอาแค่สีแค่เห็นระลึกรู้แค่เห็นเห็นให้อยู่ที่เห็นตั้งสติไว้ที่ตา ถ้าตั้งไม่เป็นมันก็เลยเถิดไปถึงสีขาวไปขาวก็ให้ตั้งสติรูปประสาทตาตรงนี้ภาวนาหยุดที่เห็นเห็นเห็น..เอาแค่เห็นขันธ์ห้าเกิดขึ้นขณะที่ตาเห็น แต่ถ้าไม่ภาวนาไม่เป็นกรรมฐานเพราะเป็นการดูด้วยโมหะดูด้วยทิฐิดูด้วยโลภะดูด้วยวิตกวิจารณ์เรียกว่าญาณคติธรรมคล้ายตัวปัญญาแต่ไม่ใช่ปัญญา

กรณีของหูได้ยินเช่น เสียงตีระฆัง หรือเสียงดนตรีบรรเลงเราฟังเฉยๆ เป็นกรรมฐานมั้ย? ไม่เป็นมันก็รู้อยู่นิจิตมันเป็นสมาธินะรู้อยู่ได้ยินอยู่ไม่เป็นกรรมฐานเพราะไม่ปริกรรมภาวนาต้องภาวนาเท่านั้น ตัวอย่างสุนัขมันก็ได้ยินมันต่างกันตรงไหน ขณะตีระฆังสุนัขมันหอนพอมันได้ยินเสียงกระทบหูของมัน (ม.รามคำแหงตอนหกโมงเย็นลองไปวิ่งนะเพลงชาติดังขึ้นน้องหมาเขาลุกพร้อมเพรียงกันแทบทุกตัวหอนและหันหน้าไปตามเสียงเพลงเลย55) ดังนั้นคนได้ยินเสียงกับสุนัขได้ยินเสียงมันต่างกันตรงไหนก็ได้ยินเหมือนกันนี่ถ้าไม่ได้ยินมันก็ไม่หอนเพราะฉะนั้นขณะที่ได้ยินถ้าไม่ได้กำหนดสติเป็นการได้ยินด้วยญาณคติธรรมดั่งที่กล่าวมาแล้ว เมื่อไม่กำหนดมันก็เป็นมรรคไม่ได้ต้องกำหนดตั้งสติไว้ที่หู  จมูกได้กลิ่นก็เหมือนกันหอมเหม็นเหมือนกันอย่างกลิ่นทุเรียนนี่หอมหรือเหม็นจะให้เป็นกรรมฐานต้องกำหนดหยุ่ที่กลิ่นกลิ่นหอมก็ไม่ได้หอมก็เป็นบัญญัติเหม็นก็ไม่ได้เหม็นก็เป็นบัญญัติต้องเอาปรมัตถ์ล้วนคือเอาสติหยุ่อยู่ที่กลิ่นกลิ่นกลิ่นเอาแค่กลิ่นกลิ่นนี่เป็นปรมัตถ์ไม่ใช่บัญญัติ กิเลสเกิดได้กับบัญญัติไม่เกิดกับปรมัตถ์เพราะฉะนั้นจึงต้องกำหนดเฉพาะกลิ่นกลิ่นตั้งสติไว้ที่จมูกไม่ใช่ที่ผลทุเรียน

สมมุติมีการทอดไก่ข้างๆที่เรานั่งเมื่อกลิ่นมันชี้มาที่จมูก จะเป็นอนิจจังตรงไหนอาการที่กลิ่นกระทบจมูกกลิ่นมันเป็นรูปกำหนดสติอยู่ที่กลิ่น กลิ่นมันจะมากเข้าๆ หรือน้อยลงๆหรือหายไปนี่เป็นอนิจจังอาการที่กลิ่นทนอยู่ไม่ได้เรียกว่าทุกขัง อริยสัจไม่ใช่เจ็บไม่ใช่ปวดนะ ทุกข์เพราะรูปกับนามเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปจะบังคับไม่ให้มันหายก็ไม่ได้ให้มันมากก็ไม่ได้ให้มันน้อยก็ไม่ได้นั่นเรียกว่าอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้อนิจจังทุกขังอนัตตาอยู่ที่เดียวกันอาการที่กลิ่นมันมากเข้าๆ จนแทบจะแย่แล้วนี่ก็เป็นอนิจจังอาการที่กลิ่นมันทนอยู่ไม่ได้มันจึงมากขึ้นแทนที่จะมีน้อยเท่าเดิมมากเข้าๆ หรือหายไปนี่ก็ทุกขังจะบังคับไม่ให้มากไม่ให้น้อยไม่ให้หายหรือให้มันมีก็ไม่ได้นั่นอนัตตาอยู่ที่เดียวกัน

ดังนั้นอารมณ์ของวิปัสสนาที่ถูกต้องมันเกิดได้ทั้งตาเกิดได้ทั้งหูเกิดได้ทั้งจมูกเกิดได้ทั้งลิ้นเกิดได้ทั้งกายเกิดได้ทั้งใจ เราต้องกำหนดสติทั้งอิริยาบถใหญ่อิริยาบทย่อยได้ทั้งนั้น พระพุทธเจ้าให้กำหนดละเอียดลงไปถึงสี่สิบสองอย่างเห็นมั้ยอารมณ์ของวิปัสสนาที่ถูกต้องที่สุดน่ะละเอียดยิบลงไปเลยให้กำหนดหมดเลยเวลาจะก้าวจะถอยหลังพระองค์ก็ให้กำหนดรู้หมดเลยจะคู้จะเหยียดจะก้มจะเงยพระองค์ก็ให้กำหนดรู้หมดเลย เวลาถอยเวลาก้าวไปข้างหน้าก็ดีหรือถอยกลับก็ดีเรากำหนดสติรู้ถอยถอยก็ถูกขันธ์ห้าจะเหลียวซ้ายแลขวาถ้ากำหนดเหลียวเหลียว..จึงจะเป็นวิปัสสนา แม้กระทั่งจะพาดสังฆติอุ้มบาตรห่มจีวรจะนุ่งผ้าใส่เสื้อใส่ผ้าถูกหมดแล้วถูกขันธ์ห้าแล้ว  เมื่อถูกขันธ์ห้าก็เป็นอารมณ์วิปัสสนาที่ถูกแล้วรวมถึงจะรับประทานอาหารจะดื่มจะเคี้ยวก็ให้กำหนดรู้สติภาวนาว่า..เคี้ยว..แม้จะขับถ่ายก็ให้กำหนดรู้ว่า...การเดินยืนนั่งหลับตื่นพูดนิ่งก็ให้กำหนดรู้สติภาวนาว่าเดินเดิน...หรือยืนยืน...หรือนั่งนั่ง...เป็นทั้งนั้นเรียกว่าสัมปชัญญะในพระไตรปิฎ

อนุโมทนา
...สุวภัทร......

ธรรมมะมีอยู่ทุกที่อยู่ทีใครจะมองเห็นแม้ถือพระไตรปิฏกอยู่ในมือเมื่อไม่ลงมือปฏิบัติยากที่จะเห็น



แสดงความคิดเห็น

To Top